โซล่าชาร์จเจอร์ ถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญต่อระบบโซล่าเซลล์ เพราะโซล่าชาร์จเจอร์นั้น ทำหน้าที่ควบคุมการชาร์จไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ แล้วจ่ายกระแสไฟไปให้ประจุที่แบตเตอรี่ของระบบ และนอกจากหน้าที่หลักตามที่กล่าวมาแล้ว โซล่าชาร์จเจอร์ยังสามารถป้องกันการย้อนกลับของกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ที่ไหลกลับคืนสู่แผงโซล่าเซลล์ จนอาจทำให้เกิดความเสียหาย รวมไปถึงการปลดโหลดออกจากระบบในทันที เมื่อแรงดันไฟฟ้าในแบตเตอรี่มีระดับต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้
ประเภทต่างๆ ของโซล่าชาร์จเจอร์และหลักการทำงาน
โซล่าชาร์จเจอร์ หรืออุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ โซล่าชาร์จเจอร์แบบ PWM (Pulse Width Modulation) และโซล่าชาร์จเจอร์แบบ MPPT (Maximum Power Point Tracking) โดยโซล่าชาร์จเจอร์ทั้ง 2 แบบนี้ มีหลักการทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
จะควบคุมความถี่ของคลื่นไฟฟ้าจากระบบโซล่าเซลล์ ด้วยระบบดิจิตอล ที่มีฟังก์ชั่นไฟแสดงสถานะการทำงานให้เห็นและมีระบบตัดไฟอัตโนมัติ ในส่วนของข้อดีคือแบตเตอรี่จะไม่เสื่อมเร็วและมีอายุในการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
มีหลักการทำงาน คือ ระบบนี้จะมีไมโครโพรเซสเซอร์ คอยควบคุมสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากระบบโซล่าเซลล์ แตกต่างจาก โซล่าชาร์จเจอร์ แบบ PWM ซึ่งข้อดีของการทำงานระบบนี้ คือประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี่จะเต็มอยู่ตลอดเวลา ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้ช่วงเวลานั้นจะมีแดดอ่อนๆ หรือท้องฟ้าครึ้มก็ตาม
ข้อควรระวังในการเลือกโซล่าชาร์จเจอร์สำหรับใช้งานกับระบบโซล่าเซลล์
ในส่วนของข้อควรระวังสำหรับการเลือกโซล่าชาร์จเจอร์เพื่อใช้งานกับระบบโซล่าเซลล์ นั้น มีข้อควรระวังและคำนึงถึงหลายประการ ได้แก่
ดังนั้น หน้าที่และหลักการทำงานของ โซล่าชาร์จเจอร์ สำหรับใช้งานกับระบบโซล่าเซลล์ จึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องศึกษาและเรียนรู้ด้วยความตั้งใจ หากเลือกที่จะนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้ เพราะการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ จะช่วยให้การนำ โซล่าชาร์จเจอร์ มาใช้งานอย่างถูกวิธีและเต็มประสิทธิภาพตามที่ทุกคนต้องการ แถมยังช่วยเพิ่มอายุในการใช้งานของระบบโซล่าเซลล์ให้มากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย